คิดค่าไฟฟ้าแบบง๊ายง่ายด้วยตัวเอง

24 ต.ค. 61 : 16:10 น.

หากวันนึงถ้าเหม่เหมอยากจะประหยัดพลังงานให้กับโลกใบนี้ขึ้นมาด้วยการลดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านตัวเองจะสามารถทำได้ด้วยวิธีไหนละ

คิดค่าไฟฟ้าแบบง๊ายง่ายด้วยตัวเอง

     หลายท่านช่วงนี้คงติดละครเรื่อง "เลือดข้นคนจาง" จางช่อง ONE กันมากเลยทีเดียว จากประเด็นนี้บ้านของกู๋เมธหรือป๊าของเหม่เหม อยู่แต่บ้านทั้งวันไม่ออกไปไหนเลยนอกจากออกไปรับลูกอย่างเดียว ทำให้ผมคิดได้ว่าถ้ากู๋เมธไม่ได้ออกไปไหนกู๋เมธต้องเปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืนแน่เลย แต่หากวันนึงถ้าเหม่เหมอยากจะประหยัดพลังงานให้กับโลกใบนี้ขึ้นมาด้วยการลดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านตัวเองจะสามารถทำได้อย่างไรละ วันนี้ผมมีวิธีง่ายๆที่เราหลายคนมองข้ามไปมาบอกครับ

เราสามารถหาค่าไฟได้ด้วยตัวเองแบบคร่าวๆได้ ด้วยการหาบิลค่าไฟฟ้าครั้งล่าสุดจากนั้นให้สังเกตุตัวหนังสือที่เขียนว่า “เลขครั้งหลัง” กับ “เลขครั้งก่อน” ซึ่งเลขครั้งหลังหมายถึงเลขจากมิเตอร์ไฟฟ้าครั้งล่าสุดที่ได้มีการจดบันทึกไว้ ตัวอย่างเช่น “เลขครั้งหลัง 1145” “เลขครั้งก่อน 1004” เป็นบิลในเดือนสิงหาคม หมายความว่าเลขล่าสุดที่เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าได้ทำการจดไว้คือ 1145 นั่นหมายความว่าบิลในเดือนถัดไปหรือก็คือเดือนกันยายน จะมีเลขครั้งก่อนคือ “1145” นั่นเอง หวังว่าคงยังไม่งงกันนะ หลังจากนั้นเราก็ไปจดเลขบนมิเตอร์ที่อยู่ภายในบริเวณบ้าน ว่ามีการใช้ไปกี่หน่วยแล้ว เมื่อจดเสร็จก็นำมาลบกับเลขครั้งหลังที่เราก็จะได้จำนวนหน่วยที่ใช้ไปภายในวันที่ได้ทำการคำนวณ จากตัวอย่างที่ผ่านมา เลขครั้งหลัง คือ “1145” และเมื่อไปจดเลขจากมิเตอร์ครั้งล่าสุดได้ “1238” เราก็นำ 1238 - 1145 = 93 เท่ากับว่าในตอนที่เราจดเลขมิเตอร์ครั้งล่าสุด เราได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าไปทั้งหมด 93 หน่วยแล้ว จากนั้นก็นำเลข 93 ไปคำนวณหาค่าไฟฟ้าจากเว็บการไฟฟ้านครหลวงหรือที่ลิงค์ https://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11 ได้เลย 

ระบบจัดการหอพัก_Pic_Bill_01

นำเลขบนมิเตอร์ปัจจุบันมาลบกับเลขครั้งหลังก็จะได้จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ไปทั้งหมดจนถึงเวลาปัจจุบัน

โดยภายในเว็บก่อนการคิดค่าไฟฟ้าจะมีให้เลือกประเภทการคิดไฟฟ้าซึ่งมีหลายประเภท แต่หากเป็นบ้านที่เราอาศัยอยู่กันทั่วไปก็เลือกที่ประเภทที่ 1 นอกจากนี้ยังมีให้เลือก บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.1 (อัตราปกติ แบบก้าวหน้า) บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.2 (อัตราปกติ แบบก้าวหน้า) และบ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.3 (อัตรา TOU) ซึ่งบ้านใครที่ไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นขนาดใหญ่ หรือเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบตลอดวัน ส่วนใหญ่จะคิดแบบอัตรา 1.1 เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน แต่หากบ้านใครใช้เครื่องปรับอากาศ หรือมีการเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานเกือบตลอดวัน ส่วนใหญ่จะคิดเป็นแบบ 1.2 ซึ่งใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน และสุดท้ายแบบ 1.3 จะเป็นการคิดค่าไฟฟ้าในแบบช่วงพีค และไม่พีคซึ่งเป็นการคิดค่าไฟฟ้าแบบ TOU (Time of Use Rate) เป็นการคิดค่าใช้ไฟฟ้าตามช่วงเวลา ซึ่งยังมีการใช้อยู่เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น 

ระบบจัดการหอพัก_mea_webpage

หน้าตาหน้าเว็บการไฟฟ้านครหลวงที่ใช้ในการคำนวณค่าไฟจากหน่วยที่เราได้ไปทำการวัดมา

ระบบจัดการหอพัก_Paxi_Pic

เราสามารถจำกัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าให้น้อยลงได้ หลังจากที่เราทราบว่าปัจจุบันมีการใช้ไฟฟ้าไปมากเพียงใด

หลังจากที่ได้ลองคำนวณแล้วทั้งแบบ 1.1 และ 1.2 โดยแบบ1.1 หากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยจะถูกกว่าแบบ1.2 แต่ถ้าใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยแบบ1.2 ก็จะถูกกว่า ส่วนค่าไฟฟ้าก็ไม่ได้ต่างกันมาก ต่างกันแค่จำนวนหลักหน่วย ดังนั้นไม่จำเป็นต้องคิดมากเท่าไหร่ เพราะเราทำการคิดค่าไฟฟ้าแบบคร่าวๆก็เพื่อที่จะได้รู้ว่า ณ ปัจจุบันเราได้ใช้ไฟฟ้าไปกี่บาทแล้ว เพื่อที่จะได้ประหยัดและลดการใช้ไฟฟ้าลง ทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆภายในบ้านได้ง่ายมากขึ้น ส่วนค่าน้ำเองก็ใช้วิธีคิดไม่ต่างกัน ในบิลค่าน้ำมีเลขมิเตอร์ครั้งก่อนและครั้งหลังเหมือนกับบิลค่าไฟฟ้า พอนำมาคำนวณเสร็จแล้วก็นำจำนวนหน่วยที่ใช้ไปคิดได้ที่เว็บของการประปาส่วนภูมิภาคหรือที่ลิงค์ https://www.pwa.co.th/calculate/water-tariff ได้เลย หวังว่าคงเป็นประโชนน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ ปักษี ระบบจัดการหอพัก คำตอบของที่พักยุคดิจิทัล

AVAILABLE ON STORE

App Store Play Store